งานชิ้นที่ 3
1. ด.ญ.วรพิชชา ภูบาลเพ็ชร ชั้นป.6/2 เลขที่36
2. ด.ญ.ปภัสสวรรณ เพิ่มศิริปรีชา ชั้นป.6/2 เลขที่46
ประวัติวันรัฐธรรมนูญ
ประวัติความเป็นมา
สำหรับในประเทศไทย วันรัฐธรรมนูญตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย
โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ลักษณะสำคัญคือ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจาก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาล ก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐ ซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ผู้ใดจะละเมิดมิได้ประวัติความเป็นมา
รัฐธรรมนฉบับเเรกมีชื่อว่าอะไร
+พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยเป็นผลพวงหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งในขณะที่เกิดการปฏิวัตินั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับ ณ พระตำหนักวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พระราชบัญญัติธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์ไทย ร่างขึ้นโดยแกนนำสำคัญภายในคณะราษฎร โดยในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กลับพระนคร และในวันเดียวกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้คณะราษฎรเข้าเฝ้าฯ และทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่บรรดาสมาชิกคณะราษฎร นอกจากนี้คณะราษฎรยังถวายร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามด้วย แต่พระองค์ทรงขอตรวจร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวก่อน ซึ่งพระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันรุ่งขึ้น โดยทรงพระอักษรกำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า "ชั่วคราว" สืบเนื่องมาจากพระองค์ทรงเห็นว่าหลักการประชาธิปไตยของผู้ก่อการฯ ไม่พ้องกันกับพระประสงค์ของพระองค์ แต่พระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยเพราะเหตุการณ์ฉุกเฉินในขณะนั้น
สัญลักษณ์รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
กิจกรรมรัฐธรรมนูญ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก และเป็นฉบับถาวร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานให้กับปวงชาวไทย จึงกำหนดให้ วันที่ วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีกิจกรรมต่างๆเกิดขึ้นตามนี้
พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล
ในวันรัฐธรรมนูญของทุกปี ได้มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 ทรงพระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทย
พิธีวางพวงมาลา
ในตามสถาบันศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้จัดให้มีการใส่ชุดพิธีการไปวางพวงมาลาถวายสักการะและถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์รัชกาลที่ 7 ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ มีหน่วยราชการ พ่อค้า ประชาชน จากทั่วประเทศ ได้นำพวงมาลา หรือพุ่มดอกไม้ไปถวายสักการะ และมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน
จัดงาน เด็กไทย รักรัฐสภา
ในวันรัฐธรรมนูญ ได้จัดให้มีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" และพร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เยาวชนไทยและประชาชนทั่วไปเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญของประเทศ คือวันรัฐธรรมนูญอีกด้วย
จัดนิทรรศการ
นอกจากนี้ ตามสถานศึกษา หรือหน่วยงานราชการ จะมีการจัดบอร์ด หรือจัดนิทรรศการวิชาการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่เกี่ยวกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ไพศาลสืบไป
กิจกรรมต่างๆของวันรัฐธรรมนูญนี้ จัดขึ้นทุกปี เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้มอบรัฐธรรมนูญฉบับแรกให้กับชาวไทย
พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล
ในวันรัฐธรรมนูญของทุกปี ได้มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 ทรงพระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทย
พิธีวางพวงมาลา
ในตามสถาบันศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้จัดให้มีการใส่ชุดพิธีการไปวางพวงมาลาถวายสักการะและถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์รัชกาลที่ 7 ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ มีหน่วยราชการ พ่อค้า ประชาชน จากทั่วประเทศ ได้นำพวงมาลา หรือพุ่มดอกไม้ไปถวายสักการะ และมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน
จัดงาน เด็กไทย รักรัฐสภา
ในวันรัฐธรรมนูญ ได้จัดให้มีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" และพร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เยาวชนไทยและประชาชนทั่วไปเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญของประเทศ คือวันรัฐธรรมนูญอีกด้วย
จัดนิทรรศการ
นอกจากนี้ ตามสถานศึกษา หรือหน่วยงานราชการ จะมีการจัดบอร์ด หรือจัดนิทรรศการวิชาการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่เกี่ยวกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ไพศาลสืบไป
กิจกรรมต่างๆของวันรัฐธรรมนูญนี้ จัดขึ้นทุกปี เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้มอบรัฐธรรมนูญฉบับแรกให้กับชาวไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น